inskru
gift-close

ครูโค้ช EP7 เขียนเพื่อขอรับการประเมิน THAILAND PSF

0
0
ภาพประกอบไอเดีย ครูโค้ช EP7 เขียนเพื่อขอรับการประเมิน THAILAND PSF

สมรรถนะของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา

นอกจากเรื่องการวิจัย และบริการวิชาการ

ด้านการจัดการเรียนการสอนก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

ตามที่ได้เขียนไว้ใน EP6 (สนใจอ่านคลิกที่นี่

และคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ได้ออกประกาศ

เรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์เพื่อส่งเสริม

การบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๖

แสดงให้เห็นถึงการขับเคลื่อนในเรื่องการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา

 

การพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ตามแนวทางการส่งเสริมคุณภาพ

การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา (THAILAND-PSF)

เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้อาจารย์ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ

ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนได้รับการประเมินตามกรอบสมรรถนะ

โดยอ้างอิงกับแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอน

ของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งทุกท่านมีความรู้ในศาสตร์ของตนดีมากอยู่แล้ว

เพียงท่านประเมินตนเองเพื่อรับการรับรองความรู้และทักษะด้านการสอน

(สนใจแบบประเมินตนเองตามระดับของกรอบสมรรถนะ คลิกที่นี่)

พร้อมเอกสารเพื่อขอรับการประเมินสมรรถนะ ดังนี้

1.ประวัติของตนเองด้านการเป็นอาจารย์

2.ผลงานด้านการเรียนการสอน

3.จดหมายรับรอง (letters of reference)

4. แบบประเมินตนเอง

 

โดยข้อที่ 2 คือผลงานด้านการเรียนการสอน 

อาจารย์ต้องเขียนเป็นความเรียง

โดยหากอาจารย์ยื่นขอรับการประเมิน ระดับที่ 1 ถึง 2

เขียนไม่เกิน 3,000 คํา  หรือประมาณ 8 - 10 หน้า 

หากเป็นระดับที่ 3 ถึง 4 เขียนไม่เกิน 5,000 คํา หรือประมาณ 10 - 15 หน้า


การเขียนแบบ Reflective Account of Practice (RAP)

เพื่อการสะท้อนคิด (Reflection) หลายท่านเขียนว่าไปทำอะไรมา มีกระบวนการอย่างไร

คือ What  (Describing event or process) 

โดยไม่ได้ลงรายละเอียดแบบ So what คือแสดง Thinking and analysis

และ Drawing conclusions ซึ่งเป็นข้อมูลสนับสนุนถึงหลักการคิดของท่าน

เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวคิดและการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ในเรื่องการจัดการเรียนรู้

ว่าเรามีหลักการและแนวคิดอย่างไร เช่น ความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้

ในระดับที่ 1 เรื่องการ อธิบายจิตวิทยาการเรียนรู้ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้

หากเราอธิบายเพิ่มเติมตรงนี้ชัดแบบ So What ก็จะสอดคล้องกับสมรรถนะในข้อนี้

และสามารถเชื่อมไปยัง Now what คือ Future goals and actions

ก็จะครบองค์ประกอบในการเขียนสะท้อนคิด (Reflection) 

โดยเราเขียนความเรียงให้เห็นตั้งแต่ต้นน้ำ ถึง ปลายน้ำ

จากกรณีศึกษาที่ท่านยกตัวอย่างในงานเขียนของท่าน

What - So what ถึง Now what



การที่ประเทศไทย ได้นำกรอบมาตรฐานสมรรถนะของอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา

หรือ Professional Standard Framework (PSF)

มาใช้ก็เพื่อให้อาจารย์ได้จัดกระบวนการเรียนรู้

นำสู่การเติบโต ของลูกศิษย์ เพราะเราเชื่อว่า

อาจารย์ในระดับอุดมศึกษา ท่านคือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน

หากเสริมในเรื่องความรู้ ทักษะ และค่านิยม ในเรื่องการจัดการเรียนการสอน

ก็จะเกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาคุณภาพอาจารย์ในระดับอุดมศึกษา

ที่ครบเครื่องทั้งด้านงานวิจัย บริการวิชาการ และการจัดการเรียนการสอน

ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนอาจารย์ทุกท่านครับ


อุดมศึกษาPSFThailand PSFสมรรถนะ

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

0
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
avatar-frame
แบ่งปันโดย
insครูแก้ว
- ครูโค้ช ที่ได้รับการรับรองการโค้ชจุดแข็ง ของ Gallup และโค้ชในระดับมืออาชีพที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ (ICF) - Ph.D. (Curriculum and Instruction) - KU.

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

ไอเดียน่าอ่านต่อ