inskru
gift-close

9 เทคนิคการสอนได้ใจนักเรียน

2
0
ภาพประกอบไอเดีย 9 เทคนิคการสอนได้ใจนักเรียน

ขอบคุณข้อมูลจาก trainkru

"9 เทคนิคการสอนได้ใจนักเรียน มีวิธีไหนกันบ้างไปดูกันเลย"

.

1. สอนสนุกยิงมุกบ้าง

การที่เราจะชอบเรียนวิชาใดสักวิชาหนึ่ง ครูผู้สอนมีส่วนสำคัญมาก ต่อให้วิชานั้นจะเป็นวิชาที่เรารู้สึกว่ายิ่งเรียนยิ่งโง่ก็ตาม แต่ถ้าครูสอนแบบเป็นกันเองสบายๆ เห็นเด็กตาใกล้จะปิดเมื่อไหร่ ก็ขยันรับส่งมุกตลกตลอด มันจะเป็นการเปิดสวิตซ์ให้เราตื่นตัวพร้อมเรียนอยู่เสมอ ส่วนใหญ่แล้ววิธีการสอนที่นักเรียน มักจะเทใจให้ จึงเป็นการสอนในแบบที่ทำให้นักเรียนรู้สึกรีแลกซ์ แล้วก็สนุกตามไปด้วย อะไรที่เคร่งเครียดน่าเบื่อ เด็กๆ ไม่ค่อยชอบหรอกเนอะ คลาสเรียนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มนี่สิ ความสุขของจริง!


2. สอนเทคนิคลัด

บางทีเวลาที่มาเรียนก็แอบคาดหวังไปถึงตอนทำข้อสอบด้วย นักเรียนจะกระตือรือร้นเป็นพิเศษ เวลาครูบอกว่า “เอ้า! หยิบปากกามาจดเลย สูตรนี้สูตรเดียว ใช้ทำมาหากินได้ตลอดชีวิต” หรือ “เรื่องนี้มีทริกการจำง่ายๆ ท่องตามครู” หรือ “เรื่องนี้ออกสอบบ่อย อย่าพลาดนะ” นักเรียนมักจะชอบอะไรที่ย่อยมากแล้วมากกว่าเรียนอะไรที่เนื้อหาเยอะแยะไปหมด แต่จับต้องไม่ได้เลย อาจารย์ที่มีเทคนิคเด็ดๆ มาฝากแบบนี้ จะทำให้เด็กรู้สึกว่า การเรียนเป็นเรื่องสนุก แล้วก็ทำความเข้าใจตามได้ไม่ยากนัก


3. สอนไปเล่าเรื่องไป

“ขีดเส้นใต้ตามครูเลย” หรือ “เริ่มสไลด์แรก (อ่านๆๆ กด Next รัวๆ)” การสอนลักษณะนี้มักจะทำให้เด็กง่วง ขาดสมาธิ และ เมื่อยมือโดยไร้สาเหตุเพราะที่จริงแล้วพวกเขาสามารถกลับไปอ่านหนังสือเองได้ (ในบางระดับฉัน) ส่วนใหญ่แล้ว เด็กๆ จะชอบเวลาที่ครูมาเล่าเรื่องเป็นเกร็ดความรู้ให้ฟังมากกว่า อย่างประวัติศาสตร์ที่เนื้อหาบางพาร์ท อาจจะเยอะ เข้าใจยาก แต่ครูบางท่านกลับหยิบยกเหตุการณ์สำคัญๆ มาเล่าให้ฟังเป็นฉากๆ จนนักเรียนสามารถจินตนาการตามได้ ทั้งสนุก ทั้งตื่นเต้น และได้ความรู้ ฝังสมองแบบไม่ต้องท่องเลย


4. สอนแบบแชร์ประสบการณ์

ทุกคนมีความอยากรู้เรื่องราวชีวิตของคนอื่นอยู่ในสายเลือดนักเรียนก็เช่นกัน เวลาครูสอนเรื่องไหนแล้วสอดแทรกเรื่องราวชีวิตคนอื่นที่เป็นแรงบันดาลใจให้ข้อคิด นักเรียนมักจะนั่งหลังตรง ตั้งใจฟัง จ้องคุณครูตาแป๋วเลย เพราะความรู้ไม่ได้หยุดอยู่แค่ในห้องเรียน ประสบการณ์ชีวิตต่างหากที่ยั่งยืน บางทีก็อาจจะต้องระวังไว้เพราะเล่ามากไปก็เพลินจนลืมดูเวลา แต่นืรยันว่านัดเรียนชอบให้ครูเล่าประสบการณ์จริงๆ


5. สอนให้ปฏิบัติ

ปกติเนื้อหาในหนังสือมักจะเป็นเรื่องทฤษฎีเน้นๆ หรือเป็นภาพในเชิงวิชาการเท่านั้น เพราะฉะนั้นการสอนในรูปแบบของการปฏิบัติก็มักจะดึงดูดความสนใจของนักเรียนคล้ายกิจกรรมพิเศษเสมอ เช่นการทดลองวิทยาศาสตร์ ได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน ได้ปฏิบัติจริงก็จะสามารถดึงดูดความสนใจได้ของนักเรียนได้อย่างอยู่หมัด หรือในกิจกรรมการแสดงละครที่นักเรียนจะได้เรียนรูปบทเรียนรวมไปถึงฝึกความกล้าแสดงออกในรายวิชาเดียว


6. สื่อการสอนที่น่าสนใจ

นักเรียนมักจะชอบอะไรที่เข้าใจง่าย เห็นภาพชัดเจน และแปลกใหม่ไม่เคยพบเห็น ดังนั้นสื่อการสอนบางครั้งก็เป็นอะไรช่วยเหลือนักเรียนได้ อย่างเช่นสื่อวิดีโอถ้าหากการเรียนภาษาอังกฤษมีสื่อภาพยนตร์ (sound track) สักเรื่องให้นักเรียนได้ดูแล้วละก็ นักเรียนก็จะตื่นเต้น สนุกไปกับภาพยนตร์ และ ได้ความรู้ภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กัน หรือในวิชาฟิสิกส์ ถ้ามีสื่อวีดิโอที่ทำให้เข้าใจการเคลื่อนที่ของสิ่งของ ก็จะทำให้นักเรียนเข้าใจและเห็นภาพได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เห็นอะไรที่เป็นภาพเคลื่อนไหวแล้วมีชีวิตชีวาดีนะคะ เวลาผ่านไปเร็วมาก ขอบอก!


7. สอนแบบมีเกมชิงรางวัล

อันนี้ก็เป็นหนึ่งในวิธียอดฮิต เพราะนักเรียนมักชอบเวลาที่จะได้ของรางวัล แต่จุดเด่นที่แท้จริงแล้ว คือการสร้างการมีส่วนร่วมในห้องเรียนให้เด็กๆ ได้แข่งขัน ร่วมแชร์ความคิด ได้มีส่วนร่วมทั้งยังสนุกไปด้วยในเวลาเดียวกัน แต่มีวิธีการนี้ก็มีข้อเสียอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากเพราะจะทำให้เด็กที่มีความกล้าแสดงออกได้รับความสนใจมากกว่าคนอื่นๆ ซึ่งเป้นข้อควรระวังสำหรับคุณครู


8. สอนแบบจบในคาบ

การสอนให้ครบจบในคาบแบบไม่มีนัดเพิ่ม นับได้ว่าเป็นชีวิตจิตใจของนักเรียนเพราะแค่รายวิชาใน 1 สัปดาห์ ก้ทำให้อ่อนล้าเต็มทน ยังต้องมีการนัดเพิ่มอีก ยังไม่รวมการสร้างความลำบากใจในการสั่งงานให้มาส่งในคาบถัดไป การบ้านต่างๆนานา ที่ลำบากใจทั้งคนสั่ง(กลัวนักเรียนจะไม่ส่ง) และคนทำ เรียนก็เหนื่อย การบ้านก็เยอะ ดังนั้นจึงขอสรุปว่า การวางแผนการสอนมาในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงกำหนดเวลาการเรียนแบบพอดีๆ และการบ้านที่ไม่เยอะจนเกินไป จะทำให้นักเรียนรักวิชานี้ได้ไม่ยาก ม


9. สอนแบบเข้าใจนักเรียน

เทคนิคสุดท้าย ครูจะต้องเปิดใจและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิด โดยไม่ตะลุยป้อนเนื้อหาอย่างเดียว แบบไม่สนใจเลยว่าพวกเขาเข้าใจไหม ครูที่สอนดีมักจะเปิดช่องทางให้นักเรียนได้ซักถามเนื้อหาที่ไม่เข้าใจแล้วพอนักเรียนถามก็สามารถตอบข้อสงสัยได้ชัดเจนตรงไปตรงมา โดยไม่ตำหนิ ให้เด็ก สิ่งสำคัญมากที่สุดคือ ครูจะรู้ขีดจำกัดของเด็กว่า เนื้อหาวันนี้แน่นเกินไปแล้ว ควรจะพอแค่นี้ก่อน แล้วก็ให้เด็กได้พักซะทีนั่นเอง


ขอบคุณข้อมูลจาก trainkru

เทคนิคการสอน

ไอเดียนี้เป็นไงบ้าง?

2
ได้แรงบันดาลใจ
0
ลงไอเดียอีกน้า~
แบ่งปันโดย
อัษฎา ศรีพลไกร
นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

อยากร่วมแลกเปลี่ยน?

please login

แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru

เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย

icon-please-commentมาเป็นคนแรกที่แลกเปลี่ยนสิ!

ไอเดียน่าอ่านต่อ