การจดสรุปความเข้าใจในแบบของเด็กๆ เอง
ที่ใช้ภาพเข้าช่วยเชื่อมโยงหัวข้อและเนื้อหาที่เรียน
จะช่วยให้เด็ก ๆ เรียนรู้ได้ดีขึ้นยังไงบ้าง
แล้วคุณครูทำยังไงได้บ้างนะ?
การจดโน๊ตแบบใช้ภาพเข้าช่วย (Visual Note Taking) คืออะไรนะ?
.
การจดเนื้อหาที่เรียนโดยใช้ “รูปหรือสัญลักษณ์” เข้าช่วย
เพื่ออธิบายข้อมูล ข้อเท็จจริง แนวคิดนามธรรม ฯลฯ
แทนการเขียนข้อความอย่างเดียว
ตามความเข้าใจและการเชื่อมโยงของเด็กแต่ละคน
โดยที่ไม่กำหนดรูปแบบ
ว่าต้องเป็นตัวหนังสือเท่านั้นแบบที่เป็นมา
เทคนิคนี้จะช่วยให้เด็กๆ เข้าใจเรื่องที่เรียนได้มากขึ้นยังไง?
.
การฝึกจดแบบนี้จะช่วยให้เด็กเป็นผู้เรียนที่ active ขึ้น
เป็นการกระตุ้นให้เขาตั้งใจเลือกฟังใจความสำคัญ
แล้วใช้พลังงานในการฝึกประมวลผลสิ่งที่เรียนก่อนจด
ตีความเนื้อหาที่เรียนแล้วนึกเป็นภาพ
เป็นการกระตุ้นให้เด็กใช้งานสมองหลาย ๆ ส่วน
ในการทำความเข้าใจองค์ความรู้
.
.
นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกให้เด็ก ๆ เรียบเรียงข้อมูลในหัว
และนำเสนออกหรือเล่าความรู้มาได้ในแบบตัวเองได้อีกด้วย
ครูจะเริ่มสอนการจดโน๊ตแบบนี้ยังไงดีนะ?
.
เปลี่ยนให้สมุดเป็นกระดาษว่าง ๆ ไม่มีเส้นบรรทัด
เพราะการจดโน๊ตแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีเส้น
การมีเส้นอาจจำกัดวิธีการคิด
หรือการบันทึกสิ่งที่ฟังของเด็กแต่ละคนได้
.
ครูอาจเริ่ม “ละลายพฤติกรรมการจดบันทึก” แบบเก่าๆ
โดยการให้ลองฟังเพลง 1 เพลงแล้ว “วาดเล่นอะไรก็ได้”
เพื่อให้เด็ก ๆ ได้คุ้นชินกับการจดบันทึก
ที่ไม่ได้มีแค่ตัวอักษรบนเส้นบรรทัด
แต่เป็นหน้ากระดาษเปล่าๆ
ที่จินตนาการเล่นความเข้าใจของเขาวิ่งเล่นได้
จากนั้น ครูอาจลองกระตุ้นให้นักเรียนลองเล่นกับพื้นที่ในหน้ากระดาษมากขึ้น
.
โดยใช้สัญลักษณ์ รูปภาพ ขนาดตัวอักษร
ตามที่แต่ละคนถนัด ตรงไหนก็ได้
.
ครูอาจเริ่มโดยการให้นักเรียนในห้องช่วยกัน
“สร้างสัญลักษณ์ที่ใช้แทนแนวคิดหลัก”
(เช่น การคายน้ำของใบ อาจเป็นรูปใบไม้ แล้วมีหยดน้ำ ฯลฯ)
ของเรื่องที่กำลังจะเรียนกันก่อน
แล้วลองใช้สัญลักษณ์นี้ในการจดสรุปสิ่งที่เขาเข้าใจในคาบนั้น
.
พอเด็กๆ มีไอเดียว่าเขาสามารถใช้ภาพ/สัญลักษณ์ช่วยจดได้ยังไง
เขาจะสามารถสร้างสัญลักษณ์และใช้ภาพ
“ในแบบที่ตนเองเข้าใจ”
มาใช้ในการจดบันทึกความเข้าใจต่อๆ ไปได้
สิ่งสำคัญที่ครูช่วยได้
.
เน้นย้ำว่าการจดแบบนี้ไม่จำเป็นต้อง “วาดรูปสวย”
หรือ “จดเป็นระเบียบ” ไม่มีวิธีที่ถูกหรือผิด
สิ่งสำคัญที่ควรบอกเด็กๆ คือ อยากให้แต่ละคนได้เข้าใจว่าหัวข้อกับแนวคิดสำคัญของเนื้อหาที่เรียนเกี่ยวข้องกันยังไง
และเรียบเรียงความคิดของตัวเองออกมา
“ในแบบที่ตัวเองเข้าใจ” ก็พอ
.
ไม่มีคะแนนการจด แต่ให้คำแนะนำแทน
ช่วยดูว่าในการจดของเด็กๆ นั้น
มีจุดไหนที่เขายังเชื่อมโยงได้ไม่ตรงจุดบ้าง
ประเด็นที่เด็กๆ จดมาเป็นประเด็นสำคัญของเรื่องที่เรียนหรือไม่
.
การอ่านโน๊ตของเด็กๆ
ก็ช่วยให้ครูได้เห็นการเรียบเรียง
และนำเสนอข้อมูลของครูเองในการสอนด้วยนะ!
.
ลองดู รวมมิตรตัวอย่างการใช้ "Visual" ในแบบต่าง ๆ
ที่ insKru รวบรวมมาแล้วได้ที่:
>> https://inskru.com/idea/-MOG3YkLCOKXOgl70Ggg
>> https://inskru.com/idea/-MORV7JuRS94oNbBWUVO
กราฟฟิกโดย NANPED
แสดงความเห็นกับสมาชิกใน insKru
เก็บไอเดียไว้อ่าน และอีกมากมาย